เปิดประวัติ “Gucci” แบรนด์แฟชั่นระดับ Hi-End ที่เหล่าแฟชั่นตัวพ่อยังตกหลุมรัก
Share
ในปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่มีใครไม่รู้จักแบรนด์เนมชื่อดังอย่าง “Gucci” ที่มีสินค้ามากกมาย ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า เครื่องสำอาง น้ำหอม จิลเวอร์รี่ หรือแม้กระทั้งนาฬิกาและอื่นๆ อีกมากมาย MOVER เชื่อว่าใครที่ชื่นชอบแฟชั่นก็คงจะเคยได้หยิบจับแบรนด์นี้มาสวมใส่กันบ้างแล้ว แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากว่าจะมาเป็น Gucci ที่ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นอย่างทุกวันนี้ แบรนด์นี้ต้องผ่านความยากลำบากอะไรมาบ้าง…
#1 | The Story Begins
กุชชิโอ กุชชี่ (Guccio Gucci) เป็นผู้ก่อตั้งกิจการ Gucci โดยที่เริ่มต้นจากการผลิตและจำหน่ายสินค้าจำพวกเครื่องหนัง จนกลายมาเป็นอาณาจักรสินค้าหรูภายใต้ชื่อ Gucci ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในปี 1921 เริ่มต้นจากการทำงานในโรงแรมซาวอยู่ที่กรุงลอนดอน กุชชี่นั้นได้หลงใหลในความสวยงามของกระเป๋าเดินทางที่พบเห็นอยู่ทุกวัน จนในที่สุดเขาได้ตัดสินใจกลับไปยังบ้านเกิดที่ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี และได้เปิดร้านผลิตเครื่องหนังเป็นของตนเอง เมื่อกิจการตกทอดสู่รุ่นลูก “อัลโด กุชชี” (Aldo Gucci) สินค้าภายใต้ชื่อ Gucci ก็ได้จำหน่ายไปทั่วโลก อัลโดเป็นผู้ตัดสินใจเปิดร้านกุชชีแห่งที่สองในกรุงโรมในช่วงทศวรรษ 1950 หลังจากที่ประสบความสำเร็จในโรมแล้วอัลโดก็ตัดสินใจเปิดร้านสาขาแห่งใหม่ในนิวยอร์ก แม้จะถูกพ่อคัดค้านในระยะแรกก็ตาม
#2 | Age of Coming
อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจการตกทอดถึงรุ่นที่สาม เปาโล กุชชี ซึ่งเป็นบุตรชายของอัลโดก็มีแนวทางธุรกิจของตนเอง เขาต้องการขยายไลน์สินค้าราคาไม่แพงนัก เพื่อจับฐานตลาดลูกค้าวัยรุ่น แต่คนในครอบครัว Gucci กลับไม่เห็นด้วยและคัดค้านอย่างหนักในมาซึ่งความขัดแย้งในครอบครัว ต่อมากิจการได้ตกทอดสู่ลูกชายของเปาโลคือมาอุริซิโอ ได้รับช่วงมรดกกิจการครึ่งหนึ่งเขารู้สึกอึดอัดใจกับเรื่องราวแปลกประหลาดในครอบครัว จึงตัดสินใจที่จะยึดครองกิจการไว้ในมือเสียเองทั้งหมด โดยให้บริษัทอินเวสต์คอร์ป (Invest corp) ดำเนินการซื้อหุ้นกิจการส่วนที่เหลือจากญาติพี่น้องของเขา โดยให้บริษัทอินเวสต์คอร์ป (Invest corp) ดำเนินการซื้อหุ้นกิจการส่วนที่เหลือจากญาติพี่น้องของเขา เปาโลเป็นคนแรกที่ยอมขายหุ้นในมือ
และในที่สุด มาอุริซิโอ ก็ได้ฟื้นฟูภาพพจน์กิจการที่ย่ำแย่ให้คืนกลับมา โดยมีผู้ช่วยคนสำคัญคือ โดเมนิโก เดอ โซเล ทนายความของเขา เป็นผู้รับผิดชอบดูแลกิจการ Gucci America และดอน เมลโล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Bergdorf Goodman ถูกดึงตัวมารับผิดชอบตำแหน่ง creative director นอกจากนั้นยังได้ว่าจ้าง ทอม ฟอร์ด เป็น junior designer ด้วยและหลังจากนั้นก็ได้บริหารกิจการมาเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตามกิจการภายใต้การบริหารของมาอุริซิโอในช่วงแรกดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่นมากนัก เนื่องจากไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างดี ในช่วงที่ Gucci ประสบการขาดทุน มาอุริซิโอ ได้ทุ่มเงินถึง 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงสำนักงานใหญ่ที่ฟลอเรนซ์ และในระหว่างปี 1991-1993 กิจการมียอดขาดทุนรวมถึงราว 102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1994 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ Gucci มีภาวะทางการเงินย่ำแย่อย่างหนัก เนื่องจากผลประกอบการติดลบทำให้ไม่มีกำไรอีกทั้งยังต้องแบกรับภาระหนี้สินที่นานวันก็ยิ่งมากขึ้นจนทำให้ซัปพลายเออร์ของพวกเขาขาดความเชื่อมั่นในตัวบริษัท
ในปี 1999 เป็นปีที่ Gucci กลับมาอีกครั้งจากการที่บริษัท Pinault-Printemps-Redoute ได้เข้ามาซื้อหุ้นของ Gucci จำนวน 42% คิดเป็นมูลค่ามากถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งก็ทำให้ Gucci สามารถรอดพ้นจากบริษัทอื่น Take Over ด้วยการมาของ PPR ทำให้การดำเนินงานของ Gucci ดีขึ้นมากจากหนี้สิน ที่เคยมีในอดีตจนกลายมาเป็นบริษัทที่ถือครองเงินอย่างมหาศาล และที่สำคัญ Gucci ได้ทำการซื้อหุ้นหรือไม่ก็ซื้อบริษัทอื่น ทำให้ Gucci มีแบรนด์สินค้าอื่นอยู่ในเครือมากมายอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
#3 | Then & Now
ในปัจจุบันนั้นมีรายได้จากทั่วโลกในปี 2017 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 150,400 ล้านบาท และนอกจากนี้ Forbes ยังได้จัดให้ Gucci เป็นแบรนที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับที่ 47 ของโลกด้วยทรัพย์สินที่แบรนด์นี้ถือครองทั้งสิน 12,700 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 406,400 ล้านบาท สำหรับท่านไหนที่ยังไม่เคยลองใช้แบรนด์นี้มันคงต้องเป็นแบรนด์ที่คุณจะต้องหยิบมาลองดูแล้วล่ะ
รองเท้าหนังของกุชชี่ Horsebit loafers หรือรองเท้าส้นเตี้ยแบบไม่มีเชือกของกุชชี่นั้น ทุกคู่ล้วนผลิตออกมาอย่างปราณีตที่เมืองฟรอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ซึ่งมันผ่านการตัดเย็บอย่างพิถีพิถันด้วยมือจากช่างผู้ชำนาญการ 100% และด้วยคุณภาพและความใส่ใจของกุชชี่จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมรองเท้าของกุชชี่ถึงได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก
Marco Bizzarri ผู้ที่เป็น CEO คนปัจจุบันของกุชชี่ได้ประกาศออกมาว่า ทางกุชชี่จะเลิกใช้วัสดุที่ทำจากขนสัตว์แท้ทั้งหมดภายในปี 2018 โดยเริ่มต้นจาก Collection Spring Summer เป็นต้นไปโดยที่ Marco ให้เหตุผลเอาไว้ว่าการเลิกใช้ขนสัตว์ถือเป็นการเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมส่วนรวม อีกทั้งเขายังมองว่าสินค้าที่ทำจากขนสัตว์มันเชยไปแล้วซึ่งเราสามารถผลิตไอเดียสร้างสรรค์ได้อีกมากมายแล้วก็สามารถทำมันให้ออกมาดีได้โดยที่ไม่จะเป็นต้องใช้ขนสัตว์ และสำหรับ Collection ก่อนหน้านี้ที่ทำมาจากขนสัตว์ ทางกุชชี่จะนำมาประมูลเพื่อนำรายได้ไปบริจาคให้องค์กรสิทธิสัตว์ Humane Society International
กุชชีกลายเป็นแบรนด์ที่ยังยืนผงาด ท่ามกลางความซบเซาของตลาดแฟชั่นไฮเอนด์จากผลพวงการก่อการร้ายในยุโรป ตัวเลขยอดขายสูงขึ้น 7.4% ในไตรมาสแรกของปี 2016 ติดอันดับที่ 44 ในหมวด World’s Most Valuable Brands ด้วยมูลค่าสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่จัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes และตามหลังแค่ Louis Vuitton อันดับ 19 เพียงแบรนด์เดียวในกลุ่มแบรนด์ luxury