รู้หรือไม่? อายุเท่าไหร่ ที่เหมาะสมและควรแก่การขอแฟนแต่งงาน ถ้าพูดถึงงานแต่งงาน ก็คงจะเป็นวันแห่งความฝันของใครหลายๆคน เป็นวันที่แสดงถึงความรักของคน 2 คนที่มีให้แก่กัน และพร้อมที่จะก้าวสู่การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน แต่ในความหมายนี้ผู้ชายอาจจะตีความหมายออกไปได้อีกแบบคือ วาระแห่งการหมดเวลาเล่นๆกับชีวิต หมดเวลาอิสระที่จะไปเที่ยวในยามราตรี และหันมาสู่ความเป็นจริงที่ตัวเรานั้นเป็นหัวหน้าครอบครัว และวันนี้ Mover จะขอเสนออายุเท่าไร ที่เหมาะสมและควรแก่การ “ขอแฟนแต่งงาน”
จากสถิติ “at what age do people get married?” การแต่งงานของคนในประเทศไทย จะเห็นว่าคนในประเทศแต่งงานโดยเฉลี่ยอายุจะอยู่ที่ประมาณ 26.7 ปี แต่ตัวเลขนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเลขนี้จะเป็นช่วงอายุที่เหมาะที่สุดในการแต่งงาน เพียงแต่เป็นค่าเฉลี่ยของอายุคนในประเทศที่เริ่มแต่งงาน แต่จากผลสำรวจได้เราได้ช่วงวัยหนึ่งที่เหมาะสมที่จะแต่งงานมากที่สุด นั้นก็คือช่วงวัย 28 – 32 ปี
ช่วงวัยที่เหมาสมที่จะแต่งงานมากที่สุดคือ 28-32 ปี ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้มาจากการคำนวณจากสถิติการหย่าร้าง แล้วพบว่าหลังจากปลาย 30 ปี จะมีแนวโน้มการหย้าล้างที่สูง ส่วนวัย 20 ตอนต้นนั้นมีแนวโน้มที่จะเลิกลากันมากที่สุดด้วย และปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกลานั้นมีมากมายมหาศาล ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อชีวิตคู่ที่ยืนยาวคือ ความมั่นคงทางการเงิน ความเข้าอกเข้าใจกันและกัน การศึกษาที่ดี การแต่งงานก่อนมีลูก ก็ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้มีชีวิตคู่ที่ยืนยาว ซึ่งมีการวิจัยนี้ให้เหตุผลซัพพอร์ตไว้เรียบร้อย ไปดูกันเลยเพราะอะไรกันนะ ?
#1 | วัยที่เริ่มจะรู้ถึงความรู้สึกตัวเองจริง
วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มจะรู้จักตัวเองมากพอที่ะรู้ความรู้สึกของตัวเองว่า เข้ากับอีกฝ่ายได้หรือไม่ ไม่ใช่แค่ฮอร์โมนที่พลุ่งพล่าน หรือไม่ได้รัก แต่คือความลุ่มหลงที่อยากจะได้ครอบครอง และเป็นทุกข์เมื่อเขาไม่เป็นดั่งใจหวัง ซึ่งหากเป็นวัยก่อนหน้านี้ อาจจะเกิดความผิดพลาดจากความรู้สึกของตัวเองแท้จริงแล้วเกิดจากความหลง และจะนำพาความผิดหวังมาสู่คุณเมื่อเขาไม่เป็นดั่งที่คิด ในขั้นต่อมาเราจะเริ่มทน เพราะหวังว่าเขาจะปรับเปลี่ยนเป็นคนที่ดีกว่า แต่ก็ไม่เลย จนในที่สุดคุณก็ทนไม่ไหว ถอยห่างออกมาซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการเลิกลาในต่อมา
#2 | วัยที่เริ่มจริงจังกับชีวิต
ช่วงเวลาที่ผ่านมาได้สอนอะไรหลายๆกับคนในวัยนี้ ได้ทำตามใจ ได้ท่องเที่ยว ได้ใช้ชีวิตอย่างที่อยากใช้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และเริ่มคิดกับตัวเองว่าเราควรจะอยู่กับใคร เราอยู่กับใครแล้วมีความสุข อยู่กับใครแล้วเราไม่จำเป็นต้องแสร้งเป็นคนอื่น เป็นวัยที่เราเริ่มคิดได้ว่าการสร้างครอบครัวเป็นหนึ่งในปัจจัยการมีรากฐานที่ดีในการใช้ชีวิต และสิ่งที่สวยงามที่สุดคือ เราต้องการทำดีกับคนๆนี้ทั้งๆที่ไม่ต้องการหวังอะไรตอบแทนเลย แต่เขาก็ให้สิ่งที่เราสมควรได้รับกลับมา
#3 | มีความมั่นคงทางการเงิน
ในวัยประมาณนี้ทุกคนน่าจะผ่านการทำงานมาแล้วสัก 5-6 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่นานในระดับหนึ่ง ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้การเงินของเรามีความมั่นคงมากพอที่จะเลี้ยงดูตัวเอง เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเริ่มมองหาใครสักคนที่เราสามารถใช้ชีวิตคู่ด้วยได้ และเราก็สามารถเลี้ยงดูเขาได้ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้ถือเป็นหลักใหญ่ใจความมากๆสำหรับการใช้ชีวิตในสมัยนี้ เราคงจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้หากมีเพียงความรักให้กัน แต่เราต้องมีเงินด้วย เพื่อใช้จ่ายซื้อสิ่งเราและเขาต้องการ ทานอาหารอร่อยๆด้วยกันในดินเนอร์หรู หรือจะแม้แต่ไว้สำหรับค่ารักษาหากเจ็บป่วย
#4 | เป็นวัยที่มีเงิน และเวลาในระดับสมดุล
พูดกันตามตรงคนส่วนใหญ่ในวัยนี้ยังไม่ผ่านการแต่งงานกัน และยังไม่มีลูกติด ทำให้มีเวลาให้กันและกันมากพอให้ความรักผลิบานหลังแต่งงาน มีเวลาทำเซอร์ไพรส์สร้างความประหลาดใจและความสุขให้แก่กัน มีเงิน เวลา และสภาพร่างกายที่พร้อมสำหรับการไปท่องเที่ยว แสวงหาสิ่งใหม่ๆให้แก่กัน อย่างการไปเที่ยวต่างประเทศสุดหรู พักห้องพักสุดโรแมนติก เที่ยวทะเลต่างประเทศเล่นโต้คลื่น หรือจะลุยๆ เดินเขากางเต็นท์พักแรม วัยนี้ก็เหมาะสมที่สุดแล้ว
#5 | วัยที่ยังไม่แก่เกินไปจะปรับนิสัยเข้าหากัน
นิสัยความเข้ากันนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ แต่ของแบบนี้เราก็แก้ไขและจูนกันได้ วัยนี้ก็ยังเป็นวัยที่สามารถปรับตัวได้ ไม่แก่เกินไปจะดัด การปรับไลฟ์สไตล์ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่แต่ถ้าทำแล้วเราและเขาสามารถเข้ากันได้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ได้ในจุดนี้เรากับเขาก็ควรมีตรงกลางเขาขยับเข้าหาเราสักหน่อย เราก็ขยับเข้าหาเขาอีกสักหน่อย จะได้แฟร์ๆกันทั้งสองฝ่าย อย่างเช่นเวลาการนอน ปกติผู้ชายก็จะมีกิจกรรมอย่างการดูฟุตบอลที่ปกติก็จะมาดึกๆสักหน่อย ทำให้เราเป็นคนนอนดึกไป ซึ่งต่างจากสาวๆที่เขาต้องการบำรุงดูแลตัวเอง จึงรีบนอน จากปกติเรานอน ตี 1ตี 2 เขานอน 3 ทุ่ม เราก็ลองปรับกันสักหน่อยมาเจอกันที่ตรงกลาง นอน 5 ทุ่มอย่างงี้ ไม่มีใครปรับตัวมากกว่าใครแฟร์ๆ
#6 | กฎ 37%
วันนี้เราขอนำเสนอกฎ 37% กฎนี้จริงๆแล้วมันคือสิ่งที่เราทุกคนล้วนรู้กันอยู่แล้ว แต่แค่นำมันมาย้ำเตือน และเป็นหลักในการคิด และตัดสินใจของทุกคน กฎนี้ได้อธิบายไว้ว่า สมมุติให้เราต้องการรับสมัครเลขาส่วนตัวซึ่งมีผู้สมัคร 3 คน โดยเมื่อเราเลือกให้คนถัดไปมานำเสนอโปรไฟล์แล้ว เราจะไม่สามารถเรียกคนก่อนหน้าเข้าทำงานได้ เริ่มกันเลย เราสัมภาษณ์คนแรกเสร็จ เราก็ปล่อยคนแรกไปก่อนเพื่อรับฟังคนที่ 2 หากคนที่ 2 ดีเราตัดสินว่าดีกว่าคนแรก ให้เรารับคนที่ 2 เลย หรือหากคนที่ 2 ไม่ได้ดีกว่า เราก็ยังเหลือคนที่ 3
ทีนี้เราลองเพิ่มผู้สมัครเป็น 5 เราก็เรียกสัมภาษณ์ คนที่ 1 และ 2 ไป แล้วเริ่มดูคนที่ 3 หากคนที่ 3 ดีกว่าคนที่ 1 หรือ 2 ให้เรารับคนที่ 3 เข้าทำงาน หากไม่ก็ทำซ้ำกับคนที่ 4 และ 5 ลองยกตัวอย่างกับการคบหาดูใจ สมมติในชีวิตของคนโดยเฉลี่ยมีแฟน 100 คน(ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ยกตัวอย่างเยอะ ๆ เพื่อให้เห็นภาพ) เราจะเริ่มวิเคราะห์หาคู่ชีวิตเมื่อถึงคนที่ 38 หากคนที่ 38 ดีกว่าคนที่ 1-37 ที่ผ่านมาคนที่ 38 นี้เหมาะสมที่จะเป็นคู่ชีวิตที่ดีที่สุดของคุณจากกฎ 37%