Type to search

Lifestyle

กว่าร้อยสนาม! ทำความรู้จัก TISSOT นาฬิกาแห่งความแม่นยำ เบื้องหลังชัยชนะที่วัดกันแค่เสี้ยววินาที

Share

สำหรับในชีวิตประจำวันทั่วไป ‘นาฬิกา’ อาจทำหน้าที่ในการบอกเวลาและบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของผู้สวมใส่ แต่หากเป็นในวงการกีฬา ‘นาฬิกา’ เป็นเสมือนเครื่องชี้วัดความเป็นความตายที่หมายถึงชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ในการแข่งขันได้เลย

 

วันนี้ MOVER ขอพาหนุ่มๆมารู้จักกับนาฬิกาสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ TISSOT (ทิสโซต์) ซึ่งเป็นหนึ่งไม่กี่แบรนด์ของโลกที่ได้รับการยอมรับในฐานะ Official Timekeeper หรือ ผู้จับเวลาการแข่งขันอย่างเป็นทางการของเกมการแข่งขันระดับโลกมากมายมาแล้วนับไม่ถ้วน

โดยเฉพาะกีฬาความเร็วที่เวลาและความแม่นยำคือหนึ่งในคำพิพากษาสูงสุด ซึ่ง TISSOT ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์ในการจับเวลาที่แม่นยำจนครองใจทั้งนักกีฬา ผู้ชมและนักสะสมสายสปอร์ตมาเป็นเวลานาน

เส้นทางการผจญภัยและมุดหมายสำคัญในวงการกีฬาของทิสโซต์เป็นอย่างไร เราอยากชวนคุณมาย้อนเวลา และติดตามเรื่องราวของนาฬิกาที่อยู่เหนือกาลเวลาแบรนด์นี้ไปด้วยกันครับ


 TISSOT HISTORY 

 1853  : ปีที่ TISSOT กำเนิดขึ้น โดย ช่างนาฬิกาชาวสวิส Charles-Félicien Tissot และลูกชาย ร่วมกันเปิดร้านนาฬิกา Ch. Félicien Tissot & Fils ในเมืองเลอโลคล์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เน้นความคราฟต์และนวัตกรรม จนได้รับความนิยมจากราชสำนัก และทำให้ธุรกิจเติบโตไปต่างประเทศอย่างรวดเร็ว

 1918  : หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 TISSOT ผันตัวเองเป็น ผู้ผลิตนาฬิกาแบบครบวงจรอย่างเต็มตัว ผลิตวางกลไกเองและเริ่มรูปแบบการผลิตเชิงอุตสาหกรรม

 1929  : กลไกของนาฬิกาเริ่มผสมผสานศิลปะเข้ามา เช่น รูปทรงเรขาคณิตของอาร์ต เดโค และอาร์ต นูโว สายแฟชั่นและนาฬิกาด้านเวลา (ที่เน้นการจับเวลา)

 1930  : TISSOT เปิดตัว นาฬิกาข้อมือกันสนามแม่เหล็กเป็นเรือนแรก Antimagnetique เป็นต้นแบบสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันสนามแม่เหล็ก Silicon Balance Spring มาใช้ในนาฬิการุ่น Ballade

 1933  : TISSOT สามารถครองตลาดนาฬิกากลไกระบบอัตโนมัติ และกลไกป้องกันสนามแม่เหล็ก ส่งขายไปทั่วโลก  เป็นนาฬิกาเรือนแรกของนาฬิกาประเภทนี้ที่ออกสู่ตลาดและถูกแบรนด์อื่นลอกเลียนแบบอย่างรวดเร็ว

 1958  : Harry Zweifel แชมป์นักแข่งรถเจ้าของฉายา “นักแข่งรถคนโปรดของสวิตเซอร์แลนด์” ส่งรูปภาพพร้อมลายเซ็นมาให้ทาง TISSOT พร้อมคำบรรยายว่า “ทิสโซต์อยู่เคียงข้างผมในทุกการแข่งขัน”

 1965  : TISSOT รุ่น Pr 516 นาฬิกาอันโด่งดังในตำนาน รุ่นแรกมีกลไกอัตโนมัติป้องกันสนามแม่เหล็ก จุดเด่นคือสายเป็นรูคล้ายพวงมาลัยรถแข่ง ถูกทำเป็นแคมเปญจนชนะรางวัลและทำยอดขายได้มหาศาล ทั้งในฮ่องกง แฟรงก์เฟิร์ต บัวโนส ไอเรส และเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ จนมีการพัฒนาดีไซน์ต่อมาอีกหลายรุ่น

 1967  : TISSOT รุ่น T12 Navigator กลายเป็นนาฬิกา TISSOT เรือนที่สูงที่สุดในโลก เพราะนักปีนเขานำติดตัวไปพิชิตยอดเขาเอฟเวอร์เรสต์ แสดงถึงความเป็นหนึ่งในเครื่องบอกเวลายอดนิยมที่นักปีนเขาไว้วางใจ

 1974  : บุกวงการกีฬาด้วยการเป็นผู้สนับสนุนการแข่งรถ เช่น รถเรอโนลท์ และ รถพอร์ช คาร์เรรา และอีกหลายรายการ ซึ่งเป็นแนวคิดทางการตลาดแบบ Sport Marketing ที่ถือว่าแปลกใหม่ในยุคนั้น นอกจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารจะแพร่ภาพชื่อ TISSOT เป็นพันครั้งทั่วโลก ยอดขายยังพุ่งแรงถึงขั้นสินค้าขาดตลาดด้วย

 1996  : ได้รับเกียรติเป็นพันธมิตรกับสหพันธ์ฟันดาบนานาชาติ (FIE) ซึ่งเป็นกีฬาเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยความสง่างาม ที่สำคัญคือให้ความสำคัญกับเวลาและความแม่นยำเป็นอย่างมาก

 2001  : ในปีนี้ TISSOT สยายปีกขยายความแข็งแกร่งให้แบรนด์ ด้วยการเป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการให้กับ  MotoGPTM สนามแข่งระดับโลกของมอเตอร์ไซค์สองล้อทางเรียบ ที่เน้นทั้งความถูกต้องและแม่นยำ โลกเทคโนโลยีของมอเตอร์ไซค์กลายเป็นเวทีใหม่ที่ช่วยให้ TISSOT สะท้อนตัวตนออกมาได้อย่างงดงาม

 2006  : Nicky Hayden คว้าตำแหน่งแชมป์โลก MotoGP มาครองได้สำเร็จ ทำให้เขากลายเป็น Brand Ambassador ดีกรีแชมป์โลกคนแรกของ TISSOT

 2008  : อีกบทพิสูจน์แห่งความเป็นมืออาชีพด้านเวลา เมื่อ TISSOT จับมือกับสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) ทั้งในฐานะพันธมิตรและผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการ รวมทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนรางวัลทุกการแข่งขันที่ FIBA จัดขึ้น โดยมอบนาฬิกาที่จัดทำมาพิเศษเฉพาะการแข่งขันนั้น ให้แก่ตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่า และตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยม

 2009  : Danica Patrick หญิงสาวนักแข่งรถล้อเปิด (Open-Wheel Racing) สร้างปรากฏการณ์เข้าเส้นชัยเป็นอันดับสาม ทำลายสถิติเหนือนักแข่งหญิงทุกคนที่เคยมีมา ทำให้เธอถูกยกย่องในฐานะนักแข่งหญิงที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา ถือเป็นความภูมิใจเพราะ Danica เป็นหนึ่งใน Brand Ambassador สายกีฬาของ TISSOT ซึ่งเป็นนาฬิกาผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการของสมาคมการแข่งรถสต็อกคาร์แห่งชาติ (NASCAR) ด้วย

 2011  : TISSOT รุ่น Tissot Le Locle ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจการดีไซน์จากเมืองบ้านเกิด ชนะเลิศรางวัลการแข่งขันจับเวลาสากล (The International Timing Competition) และได้รับการปรับดีไซน์ให้ทันสมัยขึ้นอีกครั้งในปี 2017 ซึ่งยังคงขับเคลื่อนด้วยกลไกอัตโนมัติ และสำรองพลังงานได้นานถึง 80 ชั่วโมง

 2013  : นอกจากรถแข่ง มอเตอร์ไซค์ ฟันดาบ ปีนเขาและดำน้ำแล้ว TISSOT ยังมีบทบาทในวงการรักบี้ในฐานะผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการของ RBS 6 Nations Championship งานแข่งรักบี้ 6 ชาติประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของโลก สปิริตและพลังของเวลาที่เที่ยงตรงจึงเป็นหนึ่งหัวใจสำคัญของงานนี้

 2015  : TISSOT ทะยานสู่วงการบาสเก็ตบอลอีกครั้ง เมื่อประกาศเป็นพันธมิตรและเป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการให้แก่สมาคมบาสเก็ตบอลแห่งชาติ (NBA) และยังมีการผลิตนาฬิการุ่นพิเศษ Chrono XL NBA Teams ในปี 2018 ด้วย

 2016  : แม้จะเป็นผู้จับเวลาการแข่งขันอย่างเป็นทางการของแมทช์จักรยานระดับโลกอย่าง Tour de France มาตั้งแต่ปี 1988 – 1992 และร่วมสนับสนุนงานกิจกรรมด้านจักรยานมาตลอด 50 ปี แต่ปีนี้ TISSOT สร้างความแตกต่างให้ตัวเองอีกครั้งด้วยการผนึกกำลังกับองค์กรกีฬายักษ์ใหญ่ A.S.O. ดูแลเวลาของการแข่งขันจักรยานทั้งหมดในรายการยาวต่อเนื่องมาอีก 5 ปี รวมทั้งกลับมาจับมือกับ Tour de France อีกครั้ง ด้วยความเร็วที่วัดผลกันแค่เสี้ยววินาที TISSOT จึงเน้นการใช้นวัตกรรมที่ทำให้ระบบการจับเวลาแม่นยำที่สุด ผลักดันให้เหล่านักปั่นต้องฮึด อึด และทุ่มศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มกำลัง

 2018-2019  : TISSOT คว้าเทพนักบิด มาร์ก มาร์เกซ แชมป์โลก 6 MotoGPTM สมัย มาเป็น Brand Ambassador ในปี 2018 และในปี 2019 ยังมีการออกแบบนาฬิการุ่นพิเศษ Tissot T-Race Marc Marquez 2019 Limited Edition ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากตัวตนของมาร์เกซ และผลิตเพียง 1993 เรือนทั่วโลกตามปีเกิดของเขาอีกด้วย!

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ TISSOT กับบทบาทหน้าที่ด้านเวลา และการยืนหยัดเคียงข้างทุกเกมการแข่งขันสำคัญ ภายใต้ความถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ ที่เดินทางมาพร้อมนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และความกล้าหาญ ซึ่งทำให้ TISSOT ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรแถวหน้าและบุคคลชั้นนำของโลก เอาชนะกาลเวลาและคงอยู่ในหัวใจของผู้คนทั่วโลกมายาวนานถึง 166 ปี


บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดย ทีมงาน MOVER

mover.in.th@gmail.com
Tags