Type to search

Art & Design Lifestyle

Nendo Design Studio ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบ “สยามดิสคัฟเวอรี่”

Share

“สยามดิสคัฟเวอรี่ ดิเอ็กซ์พลอราทอเรี่ยม” ที่เพิ่งเปิดตัวอดโฉมใหม่ไปเมื่อไม่นานมานี้ มีรูปแบบการตกแต่งที่ต่างไปจากห้างสรรพสินค้าทั่วไปโดยสิ้นเชิง มีการจัดวางร้านค้าที่มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์การจับจ่ายที่ตื่นเต้น สนุกไปกับการค้นหาและค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง การลดทอนรอยต่อบนพื้นและเพดานในพื้นที่ส่วนกลาง การเชื่อมผสานพื้นผิวระหว่างร้านหนึ่งกับอีกร้านหนึ่งโดยจัดวางสินค้าให้ดูกลมกลืนกัน

siamdiscovery02

ภาพจาก Siam Piwat

Siam_Dicovery17_takumi_ota

ภาพจาก Siam Piwat

siamdiscovery10

ภาพจาก Siam Piwat

siamdiscovery06

ภาพจาก Siam Piwat

สื่อสะท้อนถึงการผสมวัสดุที่แตกต่างกันในห้องทดลอง ซึ่งเป็นที่มาของธีม Lifestyle Lab สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการสร้างสรรค์สิ่งใหม่และการเชื่อมต่อระหว่างผู้คน ได้รับการออกแบบโดย Nendo Design Studio บริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลก จากประเทศญี่ปุ่น นำทีมโดย คุณ Oki Sato ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะหัวหน้าที่ปรึกษางานออกแบบอาคารและงานออกแบบตกแต่งภายใน

siamdiscovery01

ภาพจาก Siam Piwat

“Nendo” เป็นคำที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกวัสดุในการสร้างหุ่นจำลอง จำพวกดินเหนียว มีพื้นผิวที่เรียบ ยืดหยุ่น ขึ้นรูปและปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ง่าย ย้อนกลับไปในปี 2002 หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ โตเกียว คุณ Oki Sato ได้เลือกคำคำนี้มาใช้เป็นชื่อ Design Studio ของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่ว่า หน้าที่ของนักออกแบบ คือการค้นคว้าหาคำตอบที่ดีและเหมาะสมที่สุดแก่ผู้ว่าจ้าง เพราะฉะนั้นตัวนักออกแบบเองควรมีความคิดสร้างสรรค์ ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนมุมมองได้ตามโจทย์ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ Nendo Design Studio

mug03_akihiro_yoshida

Photographer : Akihiro Yoshida

mug01_akihiro_yoshida

Photographer : Akihiro Yoshida

seven_doors15_akihiro_yoshida

Photographer : Akihiro Yoshida

seven_doors27_akihiro_yoshida

Photographer : Akihiro Yoshida

งานออกแบบของ Nendo มีเส้นสายที่เรียบง่าย สบายตา ตามแบบฉบับของญี่ปุ่น แต่เปี่ยมไปด้วยเรื่องราวขำขันที่สร้างรอยยิ้มและสร้างความประหลาดใจแก่ผู้พบเห็น ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่า ในทุกๆ วันของคนเราจะมีช่วงเวลา “!” เกิดขึ้นเสมอ แต่เรามักจะลืมช่วงเวลา “!” นั้นไปภายในระยะเวลาสั้นๆ Nendo เชื่อว่าช่วงเวลา “!” นั้นทำให้ชีวิตประจำวันมีชีวิตชีวาและสดใสขึ้นได้ Nendo จึงหยิบยกความรู้สึก “!” ขึ้นมาผสมผสานกับการออกแบบที่เรียบง่ายอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อที่จะแทรกช่วงเวลา “!” เข้าไปในชีวิตประจำวันของทุกๆ คน ผ่านทางงานออกแบบ เช่น งานออกแบบกราฟิค, งานออกแบบผลิตภัณฑ์, งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์, งานศิลปะจัดวาง (Installation) รวมไปถึงงานออกแบบภายในและงานสถาปัตยกรรม โดยที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นคนเฒ่าคนแก่ไปจนถึงเด็กเล็กๆ ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการออกแบบเลย

Photographer : Masayuki Hayashi

Photographer : Masayuki Hayashi

Photographer : Masayuki Hayashi

Photographer : Masayuki Hayashi

Ribbon Stool

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Nendo นั้นมีจำนวนมากมาย แต่ที่เด่นชัดที่สุดนั้นคงจะเป็น Ribbon Stool (2007) ผลลัพธ์จากการทำงานร่วมกันระหว่าง Nendo กับ Studio Cappellini สตูดิโอออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังจากประเทศอิตาลี ด้วยความรู้ความเข้าใจทางด้านวัสดุ และเทคนิคขั้นตอนในการผลิตที่นำสมัยของ Studio Cappellini รวมเข้ากับความขี้เล่นของ Nendo ทำให้ Ribbon Stool ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ Red Dot Award, If Product Design Award และ Furniture Design Award

การเคลื่อนไหวอันนุ่มนวลของนักเต้นบัลเลต์ ถูกนำมาตีความใหม่แล้วนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ เส้นสายที่บางเบาเหมือนเส้นริบบิ้นผูกข้อเท้าของนักบัลเลต์ ทำให้ภาพลักษณ์ของ Stool โลหะหนาหนัก ผิวสัมผัสเย็น เปลี่ยนเป็น Stool โลหะที่ดูอบอุ่นอ่อนโยน และมีความเบาลื่นไหลไปกับบรรยากาศภายในห้อง แม้ว่าตัว Ribbon Stool จะทำขึ้นจากโลหะชิ้นบาง แต่ด้วยโครงสร้างที่ขดเป็นวงและเทคนิค Laser-Cut จากแผ่นเหล็กชิ้นเดียว ทำให้ตัว Stool ไม่มีปัญหากับการรับน้ำหนัก ทั้งยังสามารถนำฟูก Polyurethane ติดแม่เหล็กมาวางเสริมไว้เพื่อความนุ่มสบายขณะใช้งาน

Collaborator : oni Photographer : Joakim Blockstrom

Collaborator : oni
Photographer : Joakim Blockstrom

Chocolatexture

ในงาน Maison&Objet ประจำปี 2015 จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสและได้ถูกประกาศให้เป็น M&O’s Designer of the Year ทั้งยังได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ออกแบบ Lounge for Visitors ภายในงาน และของชำร่วยให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน Nendo เลือกการสัมผัสและการรับรู้ที่แตกต่างมาเป็นหัวข้อหลักในการออกแบบในครั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า “หลังจากผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้เห็นความคิดอันโลดโผนและสัมผัสชิ้นงานของนักออกแบบชื่อดังจากทั่วทุกมุมโลกแล้วนั้น บริเวณ Lounge ควรเป็นที่สำหรับพักสายตาและความคิด แต่ยังคงสามารถรับรู้ถึงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ได้ขณะที่อยู่ภายในบริเวณ” ด้วยแนวคิดนี้ภายใน Lounge จึงประกอบไปด้วยกำแพงและพื้นสีขาวสะอาดตา ตกแต่งด้วยแท่ง Aluminum สีขาวไล่ด้วยเฉดละอองสีน้ำตาลไปจนถึงบริเวณปลาย Aluminum แท่งเรียวเล็กเรียงตัวเป็นรูปคลื่นขนาดใหญ่ครอบคลุมไปทั่วพื้นที่ สื่อถึงการหลอมรวมและฟุ้งกระจายของความคิดริเริ่ม ตัดกับสีน้ำตาลของเฟอร์นิเจอร์ที่ตั้งอยู่ภายใน Lounge

Collaborator : oni Photographer : Joakim Blockstrom

Collaborator : oni
Photographer : Joakim Blockstrom

Collaborator : oni Photographer : Joakim Blockstrom

Collaborator : oni
Photographer : Joakim Blockstrom

ช็อกโกแลตรสเข้มข้นเนื้อเนียนนุ่ม ถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวกลางสำหรับการถ่ายทอดแนวคิดเรื่องการสัมผัสและการรับรู้ที่แตกต่าง เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า “รูปทรงของอาหารจะส่งผลต่อการรับรู้รสมากน้อยแค่ไหน?” ตัวช็อกโกแลตถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงแปลกตา ที่ยังคงไว้ซึ่งความขบขันสไตล์ของสตูดิโอ ช็อกโกแลตมีทั้งหมด 9 ชิ้น และทุกชิ้นมีขนาด 26x26x26 มิลลิเมตรเท่าๆ กัน ถึงแม้จะให้วัตถุดิบและส่วนประกอบชนิดเดียวกันแต่รสสัมผัสที่ได้รับจะแตกต่างกันออกไปและช็อกโกแลตทั้ง 9 ชิ้นนี้ ยังมีชื่อภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายน่ารักๆ ที่ล้อไปกับรูปทรงและพื้นผิวของตัวมันเอง เช่น Tubu-Tubu (กลุ่มก้อนของหยดช็อกโกแลตจิ๋ว) Goro-Goro (การเชื่อมต่อของสี่เหลี่ยม 14 อัน) Fuwa-Fuwa (ความนุ่มนิ่มและบางเบาจากช่องว่างมากมาย) Poki-Poki (กรอบสี่เหลี่ยมที่ทำขึ้นมาจากแท่งช็อกโกแลต)

Feb_2016

oki-sato-nendo-Emeco

พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และความกล้าที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ นั้นยังไม่เพียงพอสำหรับการที่จะสร้างผลงานที่น่ามหัศจรรย์ หากขาดการเปิดใจรับฟังข้อคิดเห็นและเคารพในสายอาชีพอื่นๆ ผลงานที่ผ่านมาของ Nendo ได้เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าการร่วมมือกันของต่างสายอาชีพสามารถรังสรรค์ผลงานที่น่ามหัศจรรย์เหนือความคาดหมาย ทั้งยังมอบประสบการณ์ความรู้ใหม่ให้กับทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาไอเดียและฝีมือได้ในอนาคต

ภาพและข้อมูลจาก : www.nendo.jp

เรื่องโดย : วัชรพงศ์ ชุมชูศักดิ์ศรี

 


บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดย ทีมงาน MOVER

mover.in.th@gmail.com

 


บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดย ทีมงาน MOVER

mover.in.th@gmail.com
Tags