Type to search

Art & Design Lifestyle

๙ พิพิธภัณฑ์ ที่รวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙

Share

ตลอดระยะเวลากว่า ๗๐ ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจต่างๆอย่างมากมายอันเป็นประโยชน์สุขแก่พนกสิกรชาวไทยทุกคน พระองค์ทรงงานอย่างหนักเพื่อวางรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศชาติตลอดมา

ในวันนี้วันที่พระองค์ทรงเตรียมพร้อมทุกอย่างไว้อย่างดีแล้ว คนรุ่นใหม่อาจจะไม่มีโอกาศได้เห็นท่านทรงงานเหมือนเมื่อก่อนแล้ว Mover จึงขอเป็นตัวแทนเสนอ ๙ พิพิธภัณฑ์ ที่รวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อเป็นการเผยแพร่แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าโดยทั่วกัน

๑. พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

tn_2-1

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายความรู้นำไปสู่การปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายในพื้นที่กว่า 300 ไร่  พร้อมทั้งแปลงสาธิตการทำเกษตร  ทำนา เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ปลูกผักในพื้นที่แคบ  การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การทำเตาเผาถ่านและถ่านอัดแท่ง  การทำน้ำส้มควันไม้  การใช้โซล่าร์เซล เป็นต้น ภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ๕ มีการจัดแสดงเรื่องราวพระราชกรณียกิจ พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ประกอบด้วย 10 โซนการเรียนรู้  ได้แก่ พระราชพิธีในวิถีเกษตร  ภาพยนตร์ 3 มิติ (แอนิเมชั่น 3 มิติ) เรื่อง “กษัตริย์เกษตร”  ภาพยนตร์ “เรื่องพ่อในบ้านของเรา”  หัวใจใฝ่เกษตร  ตามรอยพ่อ  วิถีเกษตรของพ่อ  นวัตกรรมของพ่อ  ภูมิพลังแผ่นดิน  น้ำคือชีวิต  ลานภูมิปัญญา

tn_3-1

tn_3

สถานที่ตั้ง: หมู่ ๑๓ ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ ๔๖-๔๘ ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐
โทรศัพท์: ๐๒-๕๒๙-๒๒๑๒ , ๐๒-๕๒๙-๒๒๑๓
เวลาทำการ: อังคาร-อาทิตย์ 09.00-20.00 น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม: คนไทย 50 บาท เด็ก 30 บาท ต่างชาติ 100 บาท เด็กต่างชาติ 50 บาท ในกรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการความสะดวกรวดเร็วต้องติดต่อแจ้งการเข้าชมเป็นหนังสือล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ

๒. พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)

217652_147933165272963_8375142_n

พิพิธภัณฑ์ โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) ตั้งอยู่ที่จังหวัด เชียงใหม่ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาโรงงานหลวงฯ และพื้นที่โดยรอบ ให้เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ (A Platform for Learning Experience) ของการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ภายในพิพิธภัณฑ์ มีการจัดนิทรรศการอันประกอบด้วย ๓ หัวข้อหลัก คือ โครงการหลวง โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) และบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด โดยนำเสนอผ่าน คำบรรยาย ภาพถ่าย สื่อวิดิทัศน์ วัตถุจัดแสดง รวมทั้งการจำลองบรรยากาศ ภายใต้กรอบแนวคิดในการออกแบบ ๓ ประการ คือ ความพอเพียงเรียบง่าย เอกลักษณ์ของท้องถิ่น และกลิ่นอายหรือบรรยากาศของโรงงานหลวงฯ นอกจากท่านจะ “ได้ความรู้และเกิดความรัก” แล้ว ที่นี่ยังให้ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในบ้านยาง ซึ่งท่านสามารถศึกษาก่อนไปเยี่ยมชมพื้นที่จริง

10405407_697748093624798_6850555224765746823_n

208223_148391268560486_3755488_n

10378980_697747086958232_7973875940353858272_n

สถานที่ตั้ง: พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) 72 หมู่ 12 บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50320
โทรศัพท์: ๐๕-๓๐๕-๑๐๒๑
เวลาทำการ: อังคาร-อาทิตย์ 08.30 น.-16.30 น.(ร้านขายของที่ระลึก เปิดถึง 17.00น)
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม: ไม่เสียค่าใช้จ่าย


๓. พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา

b1

Source

พิพิธภัณฑ์ อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา  เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2554  ภายในประกอบด้วยส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร ๗ หัวข้อ ได้แก่ ๑) จากราชนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง  ๒) จากอู่เรือหลวงสู่กรมอู่ทหารเรือ  ๓) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานนาวาสถาปัตย์  ๔) การเสริมสร้างสมุททานุภาพให้กองทัพเรือ  ๕) การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ  ๖) ทำเรือให้พร้อมรบ ๗) อู่เรือและอุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศ ซึ่งในพื้นที่จัดแสดง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานนาวาสถาปัตย์ จะกล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระอัจฉริยภาพแห่งพระองค์ด้านการต่อเรือ เนื่องจากพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยงานช่างตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงออกแบบและต่อเรือใบมด ซูเปอร์มด ไมโครมด และทรงกีฬาแล่นใบ รวมถึงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ตามแนวพระราชดำริ และการขยายผลสู่ชุดเรือ ต.991 และชุดเรือ ต.994 วัตถุที่จัดแสดงที่สำคัญในส่วนนี้ ได้แก่ สมุดบันทึกพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินาถ และลายพระหัตถ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระราชทานให้กรมอู่ทหารเรือ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูและปล่อยเรือลงน้ำ  ใกล้กันมีส่วนลงนามถวายพระพรโดยเขียนบนจอคอมพิวเตอร์

2

source

image

Source

สถานที่ตั้ง: กรมอู่ทหารเรือ เลขที่ 2 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์: ๐๒-๔๗๕-๕๓๖๘
เวลาทำการ: 09.00 น. – 16.00 น. วันราชการ หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม: ไม่เสียค่าเข้าชม กรุณาติดต่อล่วงหน้า เพื่อเข้าเป็นหมู่คณะ(12-50 คน) หากน้อยกว่านั้นทางพิพิธภัณฑ์จะจับกลุ่มให้


๔. หออัครศิลปิน

%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%9b1

source

เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างหออัครศิลปินเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อเป็นที่จัดแสดงผลงานอันทรงคุณค่าของพระองค์ท่านในฐานะ อัครศิลปิน ที่มีพระปรีชาสามารถอย่างมากในด้าน ศิลปกรรม คีตศิลป์และการพระราชนิพนธ์ อีกทั้งยังเพื่อสนองพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ว่า “ผลงานของศิลปินแห่งชาติเป็นมรดกศิลปะอันล้ำค่าของชาติ เป็นเครื่องหมายแสดงอารยธรรมอันสูงส่งของชาติไทยควรค่าแก่การภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ผลงานของท่านเหล่านี้นับวันจะสูญหายไปด้วยสาเหตุต่างๆ จึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องศึกษาผลงานของทุกท่านเหล่านี้ แล้วจัดทำเนียบขึ้นบัญชีอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติโดยส่วนรวมต่อไป

1452393077_846

source

%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%9b3

source

สถานที่ตั้ง: ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: ๐๒-๙๘๖-๕๐๒๐-๔
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ 09.00-16.00 น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม: ไม่เสียค่าใช้จ่าย


๕. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

hao-750x441

Source

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดยกรมศิลปากรได้ทำการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติขึ้น เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นสิ่งอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ และเพื่อต้องการให้เป็นหอสมุดจดหมายเหตุแห่งชาติที่สมบูรณ์ที่สุด ในการเก็บรวบรวมเอกสารสำคัญของชาติ เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยให้แก่หน่วยงานราชการ เอกชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

เป็นการอำนวยประโยชน์ในการรวบรวมจัดเก็บจัดแสดง ให้บริการสืบค้น และอนุรักษ์เอกสารที่เกี่ยวเนื่องในพระราชประวัติและพระราช กรณียกิจ อาทิ พระราชหัตถเลขา พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราชนิพนธ์ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ พระบรมฉายาลักษณ์ แถบบันทึกพระสุรเสียง ฯลฯ ตลอดจนเอกสารการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ หอจดหมายเหตุแห่งชาติแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ให้ความรู้ และให้เยาวชนรุ่นหลังได้ซาบซึ้งถึงพระปรีชาสามารถ ในการปกครองแผ่นดิน รวมไปถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวไทย ที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์

img_4196

l_img_4213

l_img_4234

Source

สถานที่ตั้ง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
โทรศัพท์: ๐๒-๙๐๒-๗๙๔๐ ต่อ ๑๑๑, ๑๑๓
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม: ไม่เสียค่าใช้จ่าย


๖. หอรัชมงคล สวนหลวง ร.๙

43518091

source

หอรัชมงคล เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดในสวนหลวง ร.๙ เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในศุภมงคลสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ อาคารตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงาม ด้านหน้าคืออุทยานมหาราช มีสระน้ำพุขนาดใหญ่สามสระต่อกัน ด้านหลังคือตระพังแก้วซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขุดขึ้นตามพระราชดำริเพื่อให้เป็นที่รับน้ำ และบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ภายในจัดแสดงพระราชจริยวัตรในด้านต่างๆ พระราชกรณียกิจ และของใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

โดยตั้งชื่อห้องจัดแสดงต่างๆไว้อย่างคล้องจองกัน ได้แก่ ห้องพระราชประวัติ ฝีพระหัตถ์ฝากประชา กีฬาชื่นบาน งานดนตรี พระราชกรณียกิจ พิพิธกุศลทาน ถิ่นฐานพิทักษ์ บริรักษ์ชาวนาไร่ และโครงการในพระองค์ นอกจากนั้นผนังรอบระเบียงชั้นบนภายในห้องประชุม ยังติดภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงาน และทรงกิจกรรมต่างๆ เช่น ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ภาพทรงกีฬาหลายประเภท เช่นสกีน้ำ สกีหิมะ เรือใบ ภาพพระราชทานคัมภีร์อัลกุรอานที่โปรดเกล้าฯให้แปลเป็นภาษาไทยแก่ผู้นำศาสนาอิสลามที่จังหวัดนราธิวาส

ส่วนใต้ภาพเหล่านี้มีตู้กระจกติดผนังจัดแสดงของที่ประมุขและบุคคลสำคัญทูลเกล้าฯถวาย ในการเสด็จเยือนต่างประเทศ เช่น แจกันโลหะเคลือบสี ลวดลายดอกไม้และนก จากประธานาธิบดีแห่งประเทศไต้หวัน กระถางหยกสามขาสีเขียว สลักและฉลุลวดลาย จากสาธารณรัฐประชาชนจีน แจกันกระเบื้องเคลือบลายดอกไม้สีทอง จากประเทศญี่ปุ่น จานโลหะเงินสลักคำถวายพระพรจากนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชา และ รถม้าทำด้วยเงิน จากประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น

20120210165503jkme

20120210165516lr1u

20120210165519uqrh

Source

สถานที่ตั้ง: สวนหลวง ร.๙ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ ๑๐๒๕๐
โทรศัพท์: ๐-๒๓๒๘-๑๓๘๕-๖ , ๐-๒๓๒๘-๑๓๙๒
เวลาทำการ: ทุกวัน 06.00 – 18.00 น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม: ๑๐ บาท (ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่สำนักงานมูลนิธิ สวนหลวง ร.๙ หอรัชมงคล)


๗. ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ

10271480_544776618964789_4000942225012911000_n

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ดำเนินการจัดทำศูนย์นิทรรศการและแสดงแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาในด้านต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอุลยเดช อาทิ ด้านการเกษตร ด้านปศุสัตว์ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านพลังงานเพื่อเผยแพร่แนวพระราชดำริให้กว้างขวางและลึกซึ้งแก่ประชาชนทั่วไป ตลอดจนสาธิตความเป็นอยู่วิถีไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ภายในประกอบด้วย ๓ กิจกรรมหลักคือ ๑) พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ๒) พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ๓) การศึกษาดูงานและการฝึกอบรมหลักสูตรพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จึงนับเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต” เพราะทำให้ผู้เข้าชมได้ศึกษา ทดลอง และเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ได้รับทั้งความรู้ ความเข้าใจ และความเพลิดเพลิน นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดความรู้ โดยรู้จักการช่วยเหลือตนเองเป็นหลัก

10402823_544771192298665_6792705589441165676_n

10369723_544771338965317_6908495983569506788_n

สถานที่ตั้ง: โครงการศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ 98/1 หมู่ 2 บ้านท่าด่าน ตำบล หินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก นครนายก 26000
โทรศัพท์: ๐๓-๗๓๘-๔๐๔๙
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวัน


๘. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ecotourism-128267-1

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการฟื้นฟูธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ บริเวณโดยรอบศูนย์ฯ และให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเพื่อศึกษา หาความรู้ และสามมารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิต พร้อมทั้งส่งเสริมศิลปาชีพ หัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักอีกทางหนึ่ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนองพระบรมราโชบายในการบริหารจัดการองค์กรตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมุ่งหวังให้จะพัฒนาให้เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ในทุกด้าน ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” (Living Natural Museum) และศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเตล็ด (One Stop Service)

reviewthaitravel_42013_06_20_23_26_06

Source

ecotourism-128267-2

Source

สถานที่ตั้ง: ถ.สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120

โทรศัพท์: ๐๓-๘๕๙-๙๑๐๕-๖


๙. พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ เขื่อนภูมิพล

1421159294

source

เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖  รอบ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น จึงได้จัดทำโครงการ อาคารเอนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ เขื่อนภูมิพล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในแบ่งการจัดแสดงออกเป็นนิทรรศการส่วนต่างๆ ดังนี้

๑) จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อสร้างเขื่อนภูมิพล

๒) จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ กับบทบาทการพัฒนาแหล่งน้ำ และภาพการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเขื่อนภูมิพล และเขื่อนต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงการเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ต่างๆ

๓) จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ “สายอากาศพระราชทาน” ซึ่งบอกเล่าถึงความเป็นมาของสายอากาศพระราชทาน และพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเรื่องสายอากาศ นอกจากนั้นบนชั้นลอยภายในอาคาร เก็บรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีหนังสือสารานุกรมไทยในแต่ละภาค โดยมีมุมให้สามารถนั่งอ่านหนังสือ พร้อมทั้งมีแผ่นซีดีรอม และเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาหาข้อมูลการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลได้

 

1421159715

Source

สถานที่ตั้ง: อาคารเฉลิมพระเกียรติ เขื่อนภูมิพล หมู่ 6 ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก 63130
โทรศัพท์: ๐๕-๕๕๔-๙๕๑๐
เวลาทำการ: ทำหนังสือติดต่อล่วงหน้า
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม: ไม่เสียค่าเข้าชม

 

ทีมงาน Mover หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้รับรู้ถึงพระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพ ตลอดจนพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและต้นแบบที่ดีงามในการดำรงชีวิตและพัฒนาประเทศชาติสืบต่อไป


บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดย ทีมงาน MOVER

mover.in.th@gmail.com


บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดย ทีมงาน MOVER

mover.in.th@gmail.com
Tags
waritto

it's not too late to MOVE forward.

  • 1