Type to search

Hang out & Travel Lifestyle

ตามรอยพ่อในต่างแดน พาชม ๔ เมืองสำคัญในพระราชประวัติ ในหลวง ร.๙

Share

อย่างที่เราทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพและทรงประทับอยู่ในต่างแดน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ วันนี้ Mover จึงขอพาทุกคนไปชม ๔ เมืองสำคัญในพระราชประวัติ ในหลวง ร.๙ พร้อมประมวลภาพสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ ที่จะทำให้คุณอยากไปตามรอยพ่อในต่างแดน

 Boston, Massachusetts 

เริ่มต้นกันที่ Cambridge เมือง Boston รัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองอันเป็นสถานที่ทรงพระประสูติกาลของพระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (หรือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชในขณะนั้น) โดยวันพระบรมราชสมภพตรงกับวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ เวลา 8.45 น. ที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น (Mount Auburn) โดย ดร. ดับเบิลยู สจ๊วต วิทท์มอร์ (Dr. W. Stewart Whittmore) และคณะแพทย์ที่ได้ถวายการประสูติแด่หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) หม่อมในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)

ทิวทัศน์เมือง จากอีกฝั่งแม่น้ำ Charles River

สะพาน Memorail Bridge ข้ามแม่น้ำ Charles River

อีกสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่งในพระราชประวัติในหลวงร.๙ ก็คือมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ที่พระบรมราชชนกได้ทรงประทับศึกษาวิชาการแพทย์อยู่ในขณะนั้น โดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชได้ประสูติก่อนพระบรมราชชนกจะสำเร็จการศึกษาได้ 1 ปี

ประตูเหล็กสุดดังของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

บรรยากาศในฮาวาร์ด

และอีกหลาย ๆ มุมในบอสตัน

ฝั่ง North End ของรัฐ Massachusetts ขึ้นไปยืนถ่ายรูปจากมุมสูงแบบนี้ สวยเหมือนเมืองในยุโรปเลย

บอสตัน เมื่อตะวันตกดิน

วิวจาก East Boston Piers Park ไปนั่งชมเพลินๆ พร้อมจิบกาแฟ ได้บรรยากาศ

รูปปั้น George Washington ในสวน Boston Public Garden ท่ามกลางดอกทิวลิปในฤดูใบไม้ผลิ

และจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยกับจัตุรัส King Bhumibol Adulyadej of Thailand Square หรือ จัตุรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ใช้เวลาเดินจากโรงพยาบาล Mount Auburn ประมาณ 10 นาที อีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์สถานถึงสถานที่ประสูติกาลของพระมหากษัตริย์ไทย และแสดงถึงมิตรไมตรีอันดีระหว่างประชาชนชาวไทยและสหรัฐอเมริกา โดยมีเนื้อความแปลในแผ่นจารึกว่า

จัตุรัส แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อฉลอง และรำลึกถึงพระประสูติการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กษัตริย์ของประเทศไทย ที่โรงพยาบาลเมาท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ในขณะที่พระชนก เจ้าฟ้ามหิดล ทรงเป็นนักศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

จัตุรัสแห่งนี้ได้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 เมษยน พ.ศ. 2533 โดยเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภารณ์ อัคราชกุมารี ธิดาองค์เล็ก ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนีนาถ แห่งประเทศไทย และเป็นเครื่องหมายรำลึกถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างประชากรเมืองเคมบริดจ์ และประชาชนชาวไทย

อนุสรณ์สถานแห่งนี้ ทำพิธีเปิดแผ่นป้ายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2535 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าฟ้าหญิงสิรินทร อัคราชกุมารี ทรงทำหน้าที่แทนพระองค์ และประชาชนชาวไทย ในพิธีเปิดแผ่นป้ายจารึกแห่งนี้

ภาพจาก images.voicetv.co.th

 

 Lausanne, Switzerland 

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จกลับประเทศไทย และเมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา เพื่อทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ก็ทรงเสด็จไปศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน Merriment (เมียร์มองต์) เมือง Lausanne (โลซานน์) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงศึกษาต่อจนถึงระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยเมืองโลซานน์ ก่อนจะได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอในปี พ.ศ. 2481

เมืองโลซานน์จากมุมสูง

วิวเมืองโลซานน์และหอสูงโบสถ์ St-Francois ถ่ายจากวิหาร Cathedral hill ในยามอาทิตย์ตกดิน ด้านหลังมี Lake Geneva และ French Alps เป็นแบคกราวน์

ดอกไม้ไฟเหนือเมืองโลซานน์ ในวันชาติสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ซึ่งที่เมืองโลซานน์ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาและทะเลสาบแห่งนี้ ก็เป็นที่ตั้งของพระตำหนักหลังแรกในสวิตเซอร์แลนด์ของครอบครัวเล็ก ๆ แห่งราชสกุลมหิดล ณ อพาร์ทเมนท์เลขที่ 16 ถนนทิสโซต์ (Apartment No.16, Rue de Tissot ป้าย Lausanne, Alpes) ระหว่างปี พ.ศ. 2476-2477 และยังเป็นสถานที่ส่งพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่ทรงประทับ ณ วังสระปทุม ดังจะเห็นในรูปภาพโปสการ์ดที่เราอาจเคยผ่านตากันมาแล้ว

บรรยากาศเมืองโลซานน์

ทะเลสาบ lac Léman หรืออีกชื่อคือทะเลสาบ Geneva ณ Ouchy ท่าเรือของเมืองโลซานน์

พระราชหัตถเลขาจากโลซานน์ จากพระองค์เล็ก ถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

 

 Pully, Switzerland 

อีกเมืองเล็ก ๆ อันเงียบสงบที่ติดกับเมืองโลซานน์อย่างเมืองพุยยี่ (Pully) ก็มีความสำคัญในพระราชประวัติของทั้งรัชกาลที่ 8 และ 9 เพราะเป็นเมืองที่ตั้งของ “วิลล่าวัฒนา” (Villa Vadhana) พระตำหนักหลังใหม่ ที่ย้ายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์ ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา เพื่อให้สมพระเกียรติ

เมืองพุยยี่กับบรรยากาศเงียบสงบ

อ่าวพุยยี่

วิลล่าวัฒนา

 Ollon, Switzerland 

กิจกรรมที่เราต่างคุ้นตากันดีด้วยพระบรมฉายาลักษณ์ขณะพระองค์ทรงเล่นกีฬาสกี หนึ่งในพระอัจฉริยภาพทางกีฬา โดยทรงฝึกเล่นสกีครั้งแรกที่ Montjoie บ้านพักของภรรยาเจ้าของโรงเรียนเมียร์มองต์ ณ Villars-sur-Ollon เมือง Ollon ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นภูเขาสูง 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในค่ายพลานามัยที่เด็ก ๆ จะได้อยู่ท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์ ใช้เวลาเล่นกีฬาฤดูหนาว และยังมีครูสอนหนังสือด้วย ซึ่งครูและแพทย์ก็ได้แนะนำสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอย่างมาก ว่าจะเป็นประโยชน์แก่สุขภาพร่างกายของเจ้านายทั้ง 2 พระองค์

เนินสกีที่ Villars-sur-Ollon

ภาพซ้าย: Villars-sur-Ollon / ภาพขวา: รัชกาลที่8, รัชกาลที่9 และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

 และหลังจากเสด็จไปที่ Villas-sur-Ollon หลายปี ทรงเล่นสกีได้เก่งแล้ว จึงเปลี่ยนไปที่ ๆ ยากขึ้น ที่ Arosa เมืองภูเขาในรัฐ Grisons (กรีซองส์) ไกลจากเมืองโลซานน์มาก และเมือง Davos (ดาโวส์) เมืองตากอากาศฤดูหนาวขึ้นชื่อ ที่มีที่เล่นสกีสวย ๆ บนยอดเขาหลายที่ และยังเป็นสถานที่ทรงพระราชนิพนธ์เพลง “อาทิตย์อับแสง” อีกด้วย

ฤดูหนาวใน Arosa, Grisons, Switzerland

วิวเนินสกีแห่งหนึ่งในเมือง Davos

ที่มา


บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดย ทีมงาน MOVER

mover.in.th@gmail.com


บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดย ทีมงาน MOVER

mover.in.th@gmail.com
Tags